สาระ "ดีคอนแทค"


โรคตาอันตราย ถึงขั้นอาจมองไม่เห็น

โรคตามีอาการอย่างไร?

ปวดศีรษะเรื้อรัง โดยเฉพาะเมื่อต้องใช้สายตา ซึ่งมักเป็นอาการจากสายตาผิด ปกติจากการหักเหของแสง (สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง) หรือมีเนื้องอกในสมอง
ปวดตา เมื่อมีก้อนเนื้อในตา หรือมีสายตาผิดปกติ
มีขี้ตา เมื่อเกิดจากการติดเชื้อ เช่น โรคริดสีดวงตา หรือมีการระคายเคืองต่อเยื่อบุตาเช่น ภาวะตาแห้ง

                 อาการของต้อต่างๆ มีดังนี้


อาการของต้อลม
   ผู้ที่เริ่มเป็นต้อลมช่วงแรกมักไม่แสดงอาการให้เห็น แต่จะรู้สึกถึงความผิดปกติ เช่น
  • เคืองตา แสบตา น้ำตาไหล
  • ตาบวม ตาแดง 
  • รู้สึกเหมือนมีฝุ่นหรือสิ่งแปลกปลอมอยู่ในดวงตา ทำให้รู้สึกคันตา 
  • มีอาการมากขึ้นขณะอยู่กลางแจ้ง โดนแดด โดนลม เมื่อต้อลมมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือเกิดการอักเสบ 
  • ลืมตาไม่ขึ้น
  • เริ่มมีปัญหาในการมองเห็นมากขึ้นเรื่อยๆ

สาเหตุของโรคต้อลม

สาเหตุของโรคต้อลมยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่จะมีปัจจัยที่ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคต้อลม ได้แก่
  • ดวงตาสัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเลตหรือที่เรียกว่ารังสี UV ซึ่งมีอยู่ในแสงแดดเป็นเวลานาน
  • ดวงตาสัมผัสกับลม ฝุ่น ควัน และความร้อนที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตาขาว 
  • มีอาการตาแห้งบ่อยๆ แต่ไม่รีบรักษา หรือไม่ใช้น้ำตาเทียมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น
  • ทำงานในที่ๆ ดวงตาต้องสัมผัสกับความร้อน ฝุ่น ควัน และแสงแดดตลอดเวลาโดยไม่มีการป้องกันดวงตา เช่น คนงานก่อสร้าง ช่างเชื่อมโลหะ ช่างเจียระไนเครื่องประดับ เป็นต้น

อันตรายของโรคต้อลม

เมื่อเยื่อบุตาขาวระคายเคือง หรือเสื่อม จนเกิดเป็นก้อนเนื้อขาวๆ เล็กๆ ที่ตาขาว จะเรียกว่า ต้อลม แต่หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา หรือยังคงปล่อยให้ดวงตาสัมผัสกับแสงแดด ฝุ่น ควัน และความร้อนอย่างต่อเนื่อง อาจเกิดอาการอักเสบจนลามไปถึงตาดำได้ เรียกว่า ต่อเนื้อ ซึ่งอันตรายกว่าต้อลม และอาจเกิดความผิดปกติของสายตาอย่างถาวรได้

วิธีป้องกันโรคต้อลม

  1. หลีกเลี่ยงดวงตาจากการสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง ด้วยการสวมใส่แว่นตากันแดดที่ได้มาตรฐาน มีการรับรองว่าสามารถกรองรังสี UV ได้จริง ทุกครั้งที่ทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน หรือทุกครั้งที่ขับรถกลางแดด
  2. หากต้องทำกิจกรรมในที่ๆ มีฝุ่น ควัน เยอะ ควรสวมใส่แว่นตาที่ช่วยป้องกันจากฝุ่นควันเหล่านั้นทุกครั้ง
  3. ระมัดระวังไม่ให้ดวงตาแห้ง หากดวงตารู้สึกแห้ง ควรหยอดตาด้วยน้ำตาเทียม
  4. หากมีอาการแสบตา คันตา ตาแดง ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยด่วน

     อาการของต้อเนื้อ

   ถ้ามองเข้าไปที่ตาจะเห็นก้อนเนื้อ สีชมพู เป็นรูปสามเหลี่ยมยื่นเข้าไปในตาดำ ถ้ามีการอักเสบมักเห็น     เป็นสีแดงมากขึ้น ถ้าต้อลมจะอยู่แต่ที่ตาขาวค่ะ เป็นต้อเนื้อแล้วจะมีอาการอย่างไร จะมีอาการ      ระคาย   เคืองตา ตาแดง อาจคันหรือมีน้ำตาไหลถ้าโดนฝุ่นหรือลม ถ้าเป็นมากๆ อาจกดกระจกตา         ทำให้ มีสายตาเอียง หรือถ้าเป็นมากจนลุกลามไปบังตรงกลางของตา 

สาเหตุของโรคต้อเนื้อ
- ต้อเนื้อและต้อลมเป็นโรคที่คล้ายคลึงกัน เกิดจากสาเหตุเดียวกันคือเกิดเนื่องมาจากแสงอัลตราไวโอเลตทำให้เยื่อบุตาบริเวณนั้นเสื่อมลง โรคนี้จึงมักเกิดกับผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง ดังนั้นแพทย์จึงแนะนำให้ผู้ป่วยโรคนี้ใส่แว่นกันแดดไว้เสมอในเวลาออกกลางแจ้ง
การรักษาและการป้องกันโรคต้อเนื้อ
  • ใส่แว่นกันแดด, สวมหมวก, กางร่ม ในเวลาที่ออกกลางแจ้ง
  • ไม่จำเป็นต้องรักษาในรายที่มีอาการไม่มาก
  • ใช้ยาหยอดตาในผู้ที่มีอาการเคืองตา ตาแดง น้ำตาไหล แต่ยาหยอดตาไม่สามารถทำให้ต้อเนื้อหายไปได้
  • ต้อเนื้อที่เป็นน้อยไม่จำเป็นต้องผ่าตัดออกเพราะไม่อันตรายต่อตา
  • การผ่าตัดจะทำให้ผู้ป่วยต้อเนื้อที่มีอาการมาก หรือต้อเนื้อที่ลุกลามเข้าไปบนกระจกตาดำมากพอสมควรและ/หรือมีผลทำให้ตามัว


 อาการของต้อกระจก
  • ตามัว/มองเห็นไม่ชัดเจนโดยไม่มีอาการเจ็บปวด โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในที่มีแสงสว่างจ้า แต่กลับมองเห็นเกือบปกติในที่มืดสลัว
  • มองเห็นภาพซ้อน เกิดจากความขุ่นของเลนส์แก้วตาไม่เท่ากัน การหักเหของแสงไปที่จอประสาทตาจึงไม่รวมเป็นจุดเดียว
  • มองเห็นแสงไฟกระจาย โดยเฉพาะเวลาขณะขับรถในตอนกลางคืน

สาเหตุของต้อกระจก

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดต้อกระจกคือ อายุที่เพิ่มขึ้น พบว่าต้อกระจกสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนไม่ช้าก็เร็ว แต่จะพบมากในผู้สูงอายุ

การรักษาต้อกระจก

การรักษาต้อกระจกทำได้โดยการผ่าตัดนำเลนส์แก้วตาที่ขุ่นออกแล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่ โดยวิธีการผ่าตัดที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่
  • การสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (phacoemulsification)
  • การผ่าตัดต้อกระจกและฝังเลนส์เทียมโดยใช้เลเซอร์ (femtosecond laser)


อาการของต้อหิน

มุมปิดเฉียบพลัน ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะเป็นภาวะที่มีความดันตาสูงขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ ปวดตาอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน ตาแดง น้ำตาไหล สู้แสงไม่ได้ ตามัว เห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ รวมถึงคลื่นไส้อาเจียน

ปัจจัยเสี่ยงของต้อหิน

  • เชื้อชาติ คนเชื้อชาติแอฟริกันอเมริกันจะพบต้อหินสูงกว่าคนผิวขาวถึง 6-8 เท่า ส่วนคนเชื้อชาติเอเชียจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดต้อหินมุมปิด
  • อายุมากกว่า 40 ปี
  • มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหิน
  • ตรวจพบความดันตาสูง
  • เคยมีอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา
  • การใช้ยาสเตียรอยด์
  • ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อาทิ สายตายาวหรือสั้นมาก กระจกตาบาง โรคเบาหวาน ไมเกรน

การรักษาต้อหิน

เนื่องจากโรคต้อหินเส้นประสาทตาจะถูกทำลายอย่างถาวร การรักษาจึงเป็นการประคับประคองเพื่อให้ประสาทตาไม่ถูกทำลายมากขึ้นและเพื่อคงการมองเห็นที่มีอยู่ให้นานที่สุด ทั้งนี้การรักษาจะขึ้นกับชนิดและระยะของโรค
  • การรักษาด้วยยา มีเป้าหมายในการรักษาเพื่อลดความดันตาให้อยู่ในระดับที่ประสาทตาไม่ถูกทำลายมากขึ้น ในปัจจุบันยารักษาต้อหินมีหลายกลุ่ม ซึ่งยาหยอดเหล่านี้จะออกฤทธิ์ลดการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาหรือช่วยให้การไหลเวียนออกของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาดีขึ้น การรักษาด้วยยาจำเป็นต้องหยอดยาอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง และแพทย์จะนัดติดตามอาการเป็นระยะๆ เพื่อประเมินผลการรักษา การดำเนินโรค และผลข้างเคียงจากยา
  • การใช้เลเซอร์ โดยประเภทของเลเซอร์ที่ใช้จะขึ้นกับชนิดของต้อหินและระยะของโรค
    • Selective laser trabeculoplasty (SLT) เป็นการรักษาต้อหินมุมเปิด ใช้ในกรณีที่รักษาด้วยยาหยอดตาแล้วได้ผลไม่ดีนัก มักเลือกใช้ร่วมกับการรักษาอื่นๆ
    • Laser peripheral iridotomy (LPI) เป็นการรักษาต้อหินมุมปิด
    • Argon laser peripheral iridoplasty (ALPI) ใช้ร่วมกับ LPI หรือในกรณีไม่สามารถใช้ LPI รักษาได้
    • Laser cyclophotocoagulation มักใช้ในกรณีที่การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล
  • การผ่าตัด ใช้รักษาผู้ป่วยที่การรักษาด้วยยาหรือเลเซอร์ไม่สามารถควบคุมความดันตาได้
    • Trabeculectomy เป็นการผ่าตัดทำทางระบายสำหรับน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาใหม่เพื่อลดความดันตา
    • Aqueous shunt surgery กรณีที่ผ่าตัดวิธีแรกไม่ได้ผล อาจทำการผ่าตัดด้วยการใส่ท่อระบายเพื่อลดความดันตา



















ตัวอย่างผู้ใช้จริง
















" โปรดระวังสินค้าลอกเรียนแบบ อันตรายถึงขั้นมองไม่เห็น "

 ติดต่อสั่งซื้อกับ อ้อ ได้ของแท้ 100 % 

ความคิดเห็น